สื่อสารด้วยหัวใจ ไม่ใช่เพียงแค่พูด Non Violent Communication
Non Violent Communication หรือการสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่ดี ต้องเต็มไปด้วยความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันนับเป็นสิ่งที่ช่วยลดความขัดแย้งลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการเข้าใจองค์ประกอบของการพูดและเข้าใจว่าNon Violent Communication คืออะไร? จึงเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้ SMART-i Camp บริการรับจัดค่ายคุณภาพดีจะพาไปทำความรู้จัก Non Violent Communication ทักษะสำคัญที่ควรมีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
Non Violent Communication เพิ่มความใกล้ชิดผ่านการสื่อสารที่ดี
ภาษาเพื่อการสื่อสารเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีอิทธิพลอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน หรือผู้อื่น แต่ในทางกลับกันภาษาเพื่อการสื่อสารก็สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นได้ เพราะคำพูดเพียงไม่กี่คำเป็นสิ่งสะท้อนความคิดหรือความรู้สึกของผู้พูดออกมา การเลือกใช้ภาษาพูดจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ทั้งช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ กระชับความสัมพันธ์ และสร้างความบาดหมางใจ นำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือสร้างผลกระทบทางจิตใจแก่ผู้ฟังผ่านคำพูดได้ ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีผ่านคำพูดระหว่างลูกน้อย มารู้จัก Non Violent Communication (NVC) พร้อมกับครูแก๊ปแห่ง SMART-i Camp กันเลย
Non Violent Communication (NVC) เป็นแนวคิดและกระบวนการที่ออกแบบโดย Dr. Marshall Rosenberg นักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมด้านการพัฒนาและการปรับปรุงการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง โดย Non Violent Communication คือการสื่อสารที่เน้นการสร้างความเข้าใจผ่านการบอกความรู้สึกและความต้องการเพื่อลดความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงลง ดังนั้น Non Violent Communication จึงเป็นแนวคิดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อยให้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ รู้จักเคารพและรับฟังซึ่งกัน รวมถึงสามารถสื่อสารความต้องการออกมาเพื่อร่วมมือแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Non Violent Communication ดียังไง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ใช้กับเด็ก
Non Violent Communication คือแนวคิดการสื่อสารที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง คุณไม่อาจสามารถเข้าใจความรู้สึกหรือทำตามความต้องการของผู้อื่นได้ทั้งหมด การทำความเข้าใจและหาข้อตกลงร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดความขัดแย้งได้ ซึ่งการนำแนวคิดนี้มาใช้เพื่อสื่อสารกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพและเห็นอกเห็นใจ ผ่านการรับฟังความรู้สึกและความต้องการของเด็กอย่างตรงไปตรงมา แสดงออกให้เด็กเห็นว่าคุณมีความสนใจและต้องการเข้าใจพวกเขาด้วยใจจริง จะทำให้เด็ก ๆ มี Safe Zone ที่ดี รวมถึงรู้สึกได้รับการยอมรับ นำไปสู่การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ดูองค์ประกอบของการพูด 4 ขั้นตอนหลัก Non Violent Communication
ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความขัดแย้ง แนวคิด Non Violent Communication (NVC) จึงเป็นสิ่งที่ไม่เพียงเข้ามาช่วยทำให้ความขัดแย้งนั้นลดลงด้วยการสื่อสารที่ทำให้เข้าใจกันมากขึ้น แต่ยังรวมไปถึงทำให้ผู้พูดสามารถแสดงออกถึงความต้องการและความรู้สึกออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ทำให้เกิดการโต้เถียงหรือเกิดการทำร้ายความรู้สึกกันด้วยคำพูด โดย Non Violent Communication มีองค์ประกอบของการพูดหลัก ๆ ด้วยกัน 4 ขั้นตอน ดังนี้
การสังเกตโดยไม่ตัดสิน (Observe Without Evaluating)
องค์ประกอบของการพูดอย่างแรกของแนวคิด Non Violent Communication (NVC) คือการสังเกตโดยไม่ตัดสิน (Observe Without Evaluating) ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ฟัง คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเปิดใจรับฟังสิ่งที่เกิดขึ้นจากผู้พูดหรือลูกน้อยด้วยใจจริง โดยไร้ซึ่งการตัดสิน การตีความ การตำหนิต่อว่า หรือการแสดงออกที่ทำให้ผู้พูดหรือลูกเกิดความรู้สึกไม่ดีจากคำตำหนิ
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกยังไม่ทำการบ้าน แทนที่จะพูดกับลูกด้วยอารมณ์ว่า “ลูกขี้เกียจ” ให้เลือกใช้คำพูดบอกเขาว่า “แม่เห็นว่าลูกยังไม่เริ่มทำการบ้าน” เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกถูกตำหนิหรือถูกวิจารณ์จนเกิดการปิดกั้นการสื่อสาร
แสดงความรู้สึกของเราอย่างตรงไปตรงมา (Express Feelings Clearly)
องค์ประกอบของการพูดอย่างที่สองคือ การแสดงความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา (Express Feelings Clearly) เป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกโกรธ เกลียด เศร้า ดีใจ หรือเสียใจ เพื่อช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง รวมถึงเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นเมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น หากคุณแม่เกิดความรู้สึกกังวลใจเนื่องจากลูกยังไม่ได้ทำการบ้าน ให้บอกกล่าวกับลูกน้อยอย่างตรงไปตรงมาว่า “แม่รู้สึกเป็นกังวลเมื่อลูกยังไม่ได้ทำการบ้าน” เพื่อเป็นการสื่อสารให้เขาเห็นและเข้าใจว่าพฤติกรรมของเขามีผลต่อความรู้สึกของแม่
เข้าใจความต้องการของตนเองและผู้อื่น (Identify Needs)
องค์ประกอบของการพูดอย่างที่สามคือ การเข้าใจความต้องการของตนเองและผู้อื่น (Identify Needs) เป็นการสื่อสารที่มีการแสดงออกหรืออธิบายให้เข้าใจว่าเบื้องหลังของคำพูด การกระทำ ความต้องการ และเจตนาคืออะไร เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจถึงเหตุผลของการกระทำหรือความต้องการนั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณแม่ต้องการให้ลูกตั้งใจเรียนหรือทำการบ้านเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในอนาคต ควรใช้คำพูดสื่อสารว่า “แม่ต้องการให้ลูกตั้งใจเรียนเพราะแม่อยากเห็นลูกประสบความสำเร็จ” เพื่อแสดงออก อธิบายความรู้สึก ความต้องการ รวมถึงเจตนาของคุณแม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้ลูกเข้าใจถึงเจตนารมณ์เบื้องหลังของคำพูดเหล่านั้น นำสู่การกระตุ้นให้เกิดการเข้าใจระหว่างกันที่ลึกยิ่งขึ้น
ขอสิ่งที่ต้องการอย่างสร้างสรรค์ (Make Requests)
องค์ประกอบของการพูดอย่างที่สี่คือ การขอสิ่งที่ต้องการอย่างสร้างสรรค์ (Make Requests) เชื่อว่าไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง หรือลูกน้อย ย่อมมีความต้องการหรือสิ่งที่ต้องการร้องขอจากอีกฝ่าย และเพื่อลดความขัดแย้งจากภาษาเพื่อการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการออกคำสั่งหรือการบังคำให้ได้มา การขอสิ่งที่ต้องการอย่างสร้างสรรค์จึงเป็นการแสดงออกหรือการพูดสิ่งที่ต้องการให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน และแน่นอนว่าคำขอควรเป็นสิ่งที่ได้รับความการยอมรับและสามารถทำได้
ตัวอย่างเช่น หากคุณแม่ต้องการให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จ ควรขอความร่วมมือจากลูกด้วยความเคารพ ไม่มีการกดดันหรือบังคับให้ทำ โดยอาจใช้คำบอกกล่าวว่า “แม่ขอให้ลูกช่วยทำการบ้านให้เสร็จก่อนเวลาพักผ่อนดีไหมคะ?” เพื่อแสดงเจตนาที่ชัดเจนและร้องขอให้เขาทำด้วยความเต็มใจ
เมื่อเข้าใจองค์ประกอบของการพูดจากแนวคิด Non Violent Communication (NVC) ทั้งหมด รวมถึงนำไปปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดระหว่างลูกน้อยแล้ว ครูแก๊ปเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะสามารถสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความเข้าใจและความเคารพซึ่งกันและกัน ทำให้ครอบครัวมีความสุขจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและเติบโตไปพร้อมกันในอนาคตได้อย่างสดใส
ข้อดี Non Violent Communication กุญแจสร้างความสัมพันธ์ยั่งยืน
ครูแก๊ปเชื่อว่าทั้งคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองและลูกน้อยล้วนได้รับผลกระทบจากแรงกดดันและความเครียดจากการเรียน การทำงาน หรือการเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ที่รายล้อมเข้ามา การพูดคุยหรือการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างกันจึงอาจทำเต็มไปด้วยห้วงอารมณ์แห่งความเครียด ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งจากการสื่อสาร Non Violent Communication คือแนวคิดที่ไม่เพียงเข้ามาช่วยให้สามารถควบคุมอารมณ์และสื่อสารได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นแนวคิดที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ การทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ตลอดถึงเรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและนำไปใช้เพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำไปสู่ Growth Mindset
ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด Non Violent Communication (NVC) มากยิ่งขึ้น มาดูข้อดีของ Non Violent Communication เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ที่ครูแก๊ปแห่ง SMART-i Camp นำมาฝากไปพร้อม ๆ กันเลย
- ส่งเสริมความเข้าใจ: NVC ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสื่อสารกับลูกน้อยได้อย่างเข้าใจและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงลดความขัดแย้งระหว่างกันลง
- ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ (EQ): NVC ช่วยให้ได้ทบทวนทำความเข้าใจความรู้สึก และจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดี: NVC ช่วยให้แสดงความต้องการและความรู้สึกได้เปิดเผย นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการเข้าใจซึ่งกันและกัน
- พัฒนาทักษะการฟัง: NVC ช่วยพัฒนาทักษะการฟังให้ดีขึ้นด้วยการฟังอย่างใส่ใจ ลึกซึ้ง ปราศจากอคติและคำติเตียน
- ลดความเครียด: NVC เป็นการสื่อสารที่เต็มไปด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเปิดเผยความในใจและลดความเครียดลงได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ที่เด็ก ๆ จะได้รับจากแนวคิด Non Violent Communication
Non Violent Communication (NVC) หรือการสื่อสารที่ไร้ซึ่งความรุนแรง เป็นแนวคิดสำคัญที่นอกจากช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัวแล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารให้แก่เด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดหรือถูกคำพูดของผู้อื่นทำร้ายจนเกิดความรู้สึกฝังใจ นอกจากนี้ Non Violent Communication ยังเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของตัวเอง รวมถึงสามารถสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยให้เด็ก ๆ มีการพัฒนาด้าน Growth Mindset เนื่องจาก Non Violent Communication เป็นแนวคิดที่ทำให้เขาได้เรียนรู้การแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น รวมถึงมองเห็นคุณค่าในตัวเองยิ่งขึ้น
- ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้การหาทางออกผ่านการสื่อสารที่ดี โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
- ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่เด็ก ๆ ในการสื่อสารกับผู้อื่นยิ่งขึ้น
- ช่วยให้เด็ก ๆ รู้จักการรับฟังและแบ่งปันความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
Non Violent Communication เป็นหัวใจหลักสำหรับ Growth Mindset
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า นอกจาก Non Violent Communication (NVC) จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็ก ๆ ให้สามารถจัดการอารมณ์และความรู้สึกได้ดี รู้จักการเคารพและรับฟังผู้อื่น ตลอดถึงช่วยให้เด็กสามารถแสดงความรู้สึกและความต้องการออกมาได้อย่างเปิดเผยแล้ว Non Violent Communication ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้าง Growth Mindset ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อการเติบโตที่เชื่อว่าความสามารถและความสำเร็จพัฒนาได้จากความตั้งใจและความพยายามอย่างไม่หยุดหย่อน
ดังนั้นโดยในส่วนนี้ครูแก๊ปแห่ง SMART-i Camp จะพาไปไขข้อข้องใจว่า Non Violent Communication มีความเกี่ยวข้องในการพัฒนา Growth Mindet ซึ่งเป็นแนวคิดแห่งการเติบโตได้อย่างไร? เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้สำหรับพัฒนาการสื่อสารของลูกน้อยให้ดียิ่งขึ้น
ลดความกลัวที่จะผิดพลาดและเปิดใจ
อย่างที่ทุกคนทราบว่า Non Violent Communication เป็นแนวคิดการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในการลดความขัดแย้ง โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างสื่อสาร และหากคุณพ่อคุณแม่นำแนวคิดนี้มาใช้กับการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกน้อย จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยสามารถพูดคุยสื่อสารหรือเล่าความรู้สึกได้อย่างเปิดเผยยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเกรงกลัวการถูกตำหนิติเตียน นำไปสู่การเกิด Growth Mindet ที่ดี เพราะเด็กกล้าที่จะลองสิ่งใหม่และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อ
มองเห็นโอกาส เนื่องจากได้รับการร้องขอแบบสร้างสรรค์
แนวคิด Non Violent Communication ทำให้คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยมีความเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของกันและกันมากขึ้น เป็นผลให้ทุกฝ่ายกล้าที่จะร้องขอสิ่งที่ต้องการอย่างมั่นใจโดยไม่ได้เกิดความบ่ายเบี่ยงหรือรู้สึกว่าคำร้องขอนั้นเป็นภาระ นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก ๆ มองคำร้องขอเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งส่งผลให้พวกเขามี Growth Mindet หรือความกล้าที่จะเติบโต กล้าที่จะ
เรียนรู้ และกล้าที่พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
ร่วมพัฒนา Growth Mindset ให้กับเด็กน้อยผ่านค่าย Smart I-Camp
เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่หลายคนจึงอาจมีความกังวลใจว่าควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้แก่ลูกน้อยให้สามารถเติบโตและมี Growth Mindset ที่ดีได้อย่างไร? ค่าย SMART-i Camp คือเโอกาสดี ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนไม่ควรพลาด เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานผ่านกิจกรรมมากมายที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาทักษะที่จำเป็นรอบด้านให้เด็กสามารถเติบโตในอนาคตอย่างแข็งแกร่งผ่านการเข้าร่วม Summer Course ที่ SMART-i Camp
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ครูแก๊ปแห่ง SMART-i Camp หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้ปกครองทุกท่านจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับ Non Violent Communication มากขึ้นว่า Non Violent Communication คือการสื่อสารที่ไร้ซึ่งความรุนแรง ทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความแน่นแฟ้นขึ้นจากความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้มีการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข นอกจากนี้การใช้องค์ประกอบของการพูดที่มีแนวคิดจาก Non Violent Communication ยังช่วยเสริมสร้างให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการสื่อสารที่ดีและนำไปสู่การมี Growth Mindet เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้น