ฮอร์โมนความสุขเสริมสร้างได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แสนสนุก
เมื่อพูดถึงความสุข แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ล้วนอยากมีด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองที่คาดหวังว่าลูกน้อยของตนจะได้เติบโตและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในทุกวัน แต่รู้กันหรือไม่ว่าฮอร์โมนความสุขหรือสารแห่งความสุขคืออะไร? สารแห่งความสุขมีอะไรบ้าง? รวมถึงจะสามารถทำกิจกรรมสร้างสารความสุขให้แก่เด็ก ๆ ได้อย่างไร?
ถ้าหากว่ายังไม่รู้ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าวันนี้ทาง SMART-i Camp จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสารหลั่งความสุขพร้อม ๆ กัน ไปดูกันว่าฮอร์โมนแห่งความสุขนี้คืออะไรและมีอะไรบ้าง? รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างค่ายปิดเทอมหรือกิจกรรมสำหรับเด็กที่นำหลัก PERMA Model ตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมจะสามารถเสริมสร้างฮอร์โมนความสุขให้กับลูกน้อยได้อย่างไร?
เพื่อที่พ่อแม่จะได้สามารถเลือกเข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ และสร้างความสุขให้แก่ลูก ๆ ของตนเองได้อย่างมีความเข้าใจมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำความรู้จักกับฮอร์โมนแห่งความสุขกันได้เลย
ฮอร์โมนความสุขหรือสารแห่งความสุขคืออะไร? และมีอะไรบ้าง?
ฮอร์โมนความสุขหรือสารแห่งความสุขคือสารที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็ก ๆ พบเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ ได้รับความรัก หรือรู้สึกประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมภายในครอบครัวกระชับความสัมพันธ์ การเข้าค่ายปิดเทอมดี ๆ หรือได้ทำกิจกรรมสำหรับเด็กแสนสนุก ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ในเชิงบวกที่สร้างความรู้สึกประทับใจ ทำให้รู้สึกมีความสุข
โดยสารความสุขนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันได้เลย
ฮอร์โมนความสุขโดปามีน (Dopamine)
โดปามีน (Dopamine) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “ฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจ” เป็นสารสื่อประสาทที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็ก ๆ พบกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ ได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่รู้สึกประทับใจ ได้รับสิ่งที่ตนเองต้องการ ทำให้รู้สึกมีความสุข ปีติยินดี เช่น
- ได้รับของขวัญจากพ่อแม่
- ได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ที่ตนเองชอบ
- ได้ออกไปเที่ยวกับครอบครัว
- ได้เล่นสนุกกับเพื่อน ๆ
โดยฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจนี้มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมอันเกิดจากแรงจูงใจ ผลักดันให้เด็ก ๆ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ เด็กที่มีสารโดปามีนสูงจึงจะมีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จ
ในขณะที่เด็กที่มีสารโดปามีนต่ำมักจะไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ
นอกจากนี้ ฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจอย่างโดปามีนยังมีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีปัญหาในเรื่องของการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น เกิดจากสมองไม่หลั่งสารโดปามีนหรือมีสารโดปามีนในระดับต่ำ
ฮอร์โมนความสุขออกซิโทซิน (Oxytocin)
ออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” หรือ “ยากอด” เป็นสารสื่อประสาทที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็ก ๆ รับรู้ได้ถึงความรัก ความห่วงใย ความใส่ใจ ความเมตตากรุณาจากคนรอบตัว ทำให้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และเป็นที่รัก ไม่ว่าจะเป็น
- ได้โอบกอด จับมือ สัมผัสร่างกายของคนที่รัก
- ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ อย่างกลมเกลียว
- ได้พูดคุยและรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ
- ได้เล่นกับสัตว์เลี้ยง
โดยฮอร์โมนแห่งความรักนี้มีหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับเด็ก ๆ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ เพิ่มความรู้สึกโอบอ้อมอารี การเสียสละ ช่วยในการนอนหลับ
ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
นอกจากนี้ ฮอร์โมนแห่งความรักออกซิโทซินนี้ยังเป็นสารแห่งความสุขที่ช่วยต้านความเครียด ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถต่อสู้กับสภาวะที่ตึงเครียดและความหวาดกลัวได้ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสารความสุขดังกล่าวสามารถช่วยรักษาบาดแผลตามร่างกายให้หายเร็วขึ้นได้อีกด้วย
ฮอร์โมนความสุขเซโรโทนิน (Serotonin)
เซโรโทนิน (Serotonin) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “ฮอร์โมนแห่งความเป็นผู้นำ” หรือ “ฮอร์โมนแห่งความสำเร็จ” เป็นสารสื่อประสาทที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจ ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เช่น
- สอบได้คะแนนดี
- ได้รับรางวัลชนะการแข่งขัน
- ได้รับถ้อยคำชมเชย
- ได้รับแสงแดดยามเช้า
โดยฮอร์โมนแห่งความสำเร็จนี้เป็นสารหลั่งความสุขที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการใช้ชีวิตของเด็ก ๆ ดูแลนาฬิกาชีวภาพทั้งการตื่นและการนอน ช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว ความอิ่ม ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร ความทรงจำ การเจริญเติบโตของกระดูก และพัฒนาการของอวัยวะต่าง ๆ
วิธีสร้างฮอร์โมนความสุขง่าย ๆ ที่พ่อแม่ก็สามารถทำเองได้
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับฮอร์โมนความสุขทั้ง 3 ตัวกันไปแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนอาจสงสัยว่าจะสามารถสร้างสารแห่งความสุขนี้แก่เด็ก ๆ ได้อย่างไร? บอกเลยว่าจริง ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่เองก็สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ กระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวร่วมกันกับลูก ๆ หรือเลือกให้ลูก ๆ เข้าร่วมกิจกรรมค่ายปิดเทอมเพื่อเสริมสร้างฮอร์โมนแห่งความสุขก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารหลั่งความสุขมีด้วยกันหลากหลายอย่าง เช่น
- พาเด็ก ๆ ไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าให้อารมณ์แจ่มใส
- กอด จับมือ สัมผัสร่างกายลูก
- เอ่ยถ้อยคำชมเชยเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี
- พูดคุยและรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวัน
- ให้เด็ก ๆ ได้เล่นสนุกกับเพื่อน ๆ
- ได้ทำกิจกรรมที่สนใจ
- ให้เด็ก ๆ ได้เล่นกับสัตว์เลี้ยง
- จัดสรรเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม
- ฝึกทำสมาธิร่วมกันกับเด็ก ๆ
- ตั้งเป้าหมายบางอย่างให้กับเด็ก ๆ และส่งเสริมให้เด็ก ๆ บรรลุเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ
โดยคุณพ่อคุณแม่อาจทำตารางจัดสรรกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเสริมสร้างฮอร์โมนความสุขให้เหมาะสมกับเด็ก ๆ ภายในหนึ่งสัปดาห์ได้ดังนี้
วัน | กิจกรรม |
---|---|
วันอาทิตย์ |
|
วันจันทร์ |
|
วันอังคาร |
|
วันพุธ |
|
วันพฤหัสบดี |
|
วันศุกร์ |
|
วันเสาร์ |
|
วิธีผสมผสานฮอร์โมนความสุข โดยใช้หลัก PERMA Model
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่าหลัก PERMA Model คืออะไร? และเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนความสุขอย่างไร? ต้องขออธิบายอย่างคร่าว ๆ ว่า PERMA Model หรือ PERMA เป็นหนึ่งในแนวคิดด้านจิตวิทยาเชิงบวกที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์เชิงบวกหรือความสุขของมนุษย์
โดยหลักการ PERMA Model นี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 อย่างที่สำคัญ สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกมีความสุขและสารความสุขสามารถหลั่งออกมาและดูแลเสริมสร้างทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ ได้ ดังนี้
P - Positive Emotion
เป็นการให้เด็ก ๆ ได้ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองชื่นชอบ ทำแล้วมีความสุข ไม่เกิดความรู้สึกเครียด กดดัน อาจเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การได้รับประทานขนมอร่อย ๆ ที่ตนเองชอบ ได้รับสิ่งที่ต้องการ ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดปามีน
E - Engagement
เป็นการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตนเองชื่นชอบ ทำงานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ สามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดปามีนและเซโรโทนินได้
R - Relationship
เป็นการให้เด็ก ๆ ได้สานสัมพันธ์อันดีกับผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ๆ คุณครูอาจารย์ เรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์และไว้วางใจในตัวของผู้อื่น ซึ่งช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินได้
M - Meaning
เป็นการให้เด็ก ๆ ได้รับรู้ความหมายและคุณค่าของทุกการกระทำ ทุกกิจกรรมที่เด็ก ๆ ได้ทำ รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นมีความหมายทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นอย่างไร ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจและนำไปสู่การทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายต่อไปในอนาคต โดยจะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนินได้
A - Accomplishment
เป็นการตั้งเป้าหมายให้กับเด็ก ๆ และส่งเสริมให้เด็ก ๆ บรรลุเป้าหมายนั้น ๆ โดยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเป้าหมายใหญ่ แต่เป็นเป้าหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวันก็ได้ และเมื่อเด็ก ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ได้ก็จะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองขึ้นมา ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนินได้เช่นกัน
เสริมสร้างฮอร์โมนความสุขได้ด้วยค่ายปิดเทอม Self Compassion
สำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองที่กำลังมองหากิจกรรมดี ๆ ในช่วงปิดเทอมให้เด็ก ๆ ได้เข้าร่วมเพื่อเสริมสร้างฮอร์โมนความสุข กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข ทาง SMART-i Camp ขอแนะนำค่าย Self Compassion ค่ายปิดเทอมสำหรับเด็ก ๆ
โดยค่าย Self Compassion นั้นจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสุขโดยการสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะรักตนเองให้เป็น รู้จักให้อภัยตนเอง และรับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ของตนเอง เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้
ที่จะรับมือกับความผิดพลาดในอดีตและความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง
เด็ก ๆ ที่เข้าร่วมค่ายปิดเทอมนี้ไม่เพียงแต่มีพัฒนาการ มีการเติบโตทางด้านความคิดและความรู้สึกอย่างเห็นได้ชัดเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาในด้านของความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เด็ก ๆ กล้าที่จะสื่อสารบอกความรู้สึกที่มีต่อพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองได้ง่ายขึ้น ช่วยกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้น ให้ครอบครัวเต็มไปด้วยความรักความหวังดีที่มีให้กัน
ฮอร์โมนความสุขหรือสารแห่งความสุขคือสารสื่อประสาทที่สมองหลั่งออกมาเมื่อเด็ก ๆ รู้สึกมีความสุข โดยสารแห่งความสุขที่สำคัญนั้นมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ โดปามีน ออกซิโทซิน และเซโรโทนิน ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสถานการณ์ที่กระตุ้นในการหลั่งและมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถนำหลักการ PERMA Model มาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ รู้สึกมีความสุขและหลั่งสารความสุขออกมาดูแลเสริมสร้างร่างกายและจิตใจของเด็ก ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมง่าย ๆ ภายในครอบครัว หรือการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายปิดเทอมอย่าง Self Compassion ที่มุ่งเน้นความสุขของผู้เข้าร่วม ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารหลั่งความสุขได้ บอกเลยว่าการเข้าร่วมค่ายปิดเทอมกับ SMART-i Camp นั้นจะช่วยให้ลูก ๆ สามารถพัฒนาตนเองอย่างมีความสุข เตรียมความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการเติบโตในอนาคตได้อย่างมั่นคงแน่นอน
สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับค่าย Self Compassion ของ SMART-i Camp
สามารถ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย