Uncategorized

ปรับแนวคิดใช้ชีวิตให้มีความสุขด้วย PERMA Model

PERMA Model แนวคิดการใช้ชีวิตให้มีความสุข

ปรับแนวคิดใช้ชีวิตให้มีความสุขด้วย PERMA Model

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความกดดันหลายอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนั้น PERMA Model หรือ PERMA จึงมีความสำคัญต่อตัวพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะการเสริมสร้างจิตวิทยาเชิงบวกให้กับเด็ก ๆ จะช่วยให้พวกเขาสามารถปรับมุมมองความคิดให้สามารถรับรู้ถึงความสุขได้ซึ่งเป็นผลดีต่อพัฒนาการทางอารมณ์และความสุขของเด็ก ๆ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า PERMA Model คืออะไร? จะสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้อย่างไร? มาร่วมทำความรู้จักกับ PERMA Model กันได้ภายในบทความนี้

PERMA Model คืออะไร? เสริมสร้างจิตวิทยาเชิงบวกอย่างไร?

PERMA Model เป็นหนึ่งในแนวคิดด้านจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) โดย มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้วางรากฐานของการศึกษาศาสตร์จิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เชิงบวกหรือมีความสุข โดยนอกจากการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ค่ายปิดเทอม Summer Camp Thailand ของทาง SMART-i Camp ยังได้นำโมเดลดังกล่าวของเซลิกแมนมาใช้เป็นหลักพื้นฐานในการจัดค่ายเพื่อส่งเสริมจิตวิทยาเชิงบวกของผู้เข้าร่วมอีกด้วย

เซเลิกแมนได้อธิบายว่าแท้ที่จริงแล้วอารมณ์สุขของมนุษย์นั้นสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่ว่าต้องรู้จักองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขขึ้นเสียก่อน ถึงจะสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองในการใช้ชีวิตให้สามารถรับรู้ถึงความสุขได้เป็นจิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งองค์ประกอบหรือมิติของความสุขมีด้วยกัน 5 องค์ประกอบ เรียกว่า PERMA Model ซึ่งประกอบไปด้วย

P – Positive Emotion

Positive Emotion เป็นการที่เด็ก ๆ มีอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น มีความสุข สนุกสนาน สงบ ตื่นเต้น ประทับใจ ภาคภูมิใจ บันเทิงใจ มองเห็นคุณค่าในตนเอง มีความหวัง มีแรงบันดาลใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับมุมมองของเด็กให้มองโลกในแง่ดีแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่เป็นไปตามที่คาดคิด ซึ่งเด็กจะสามารถรับมือกับความรู้สึกเชิงลบและค้นพบกับความสุขของตนเองได้ในท้ายที่สุด

E – Engagement

Engagement เป็นการที่เด็ก ๆ ได้ใช้เวลาไปกับคนที่ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเด็กรู้สึกชอบหรือสนใจ ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นที่รัก ได้รับการยอมรับ ซึ่งทำให้มีความสุขเพราะได้เห็นคุณค่าของตนเองจากการทำสิ่งต่าง ๆ และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นอีกด้วย

R – Relationship

Relationship คือการที่เด็ก ๆ ได้สานสัมพันธ์ภาพ มีความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง เปิดกว้างทำความรู้จักกับผู้อื่นด้วยมิตรไมตรี มอบความรักและความหวังดีต่อผู้อื่นอย่างจริงใจ ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีนี้จะก่อให้เกิดความสุขต่อตัวของเด็ก ๆ ตามมา เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยอยู่เคียงข้าง ให้กำลังใจ ทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวแล้ว ยังช่วยให้มองเห็นคุณค่าและสามารถส่งเสริมเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย

M – Meaning

Meaning เป็นการที่เด็ก ๆ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย รู้ว่าการกระทำทุกอย่างของตัวเองมีคุณค่าและมีความสำคัญอาจจะต่อตนเองหรือต่อผู้อื่น และเมื่อค้นพบความหมายของการกระทำของตนเองแล้วเด็ก ๆ ก็จะเกิดความรู้สึกสุขใจเพราะตระหนักได้ว่าชีวิตของตนเองมีความหมายตามมา อีกทั้งยังนำไปสู่การทำสิ่งที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อไปในอนาคตอีกด้วย

A – Accomplishment

Accomplishment คือการที่เด็ก ๆ ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นเป้าหมายใหญ่เพียงอย่างเดียว อาจเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ หรือเป้าหมายระยะสั้นที่เป็นกิจวัตรประจำวันก็ได้ ซึ่งการบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้นั้นจะทำให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง รู้สึกชื่นชม และเกิดความนับถือตัวเองขึ้นมาได้

องค์ประกอบของ PERMA Model ทั้ง 5 ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมจิตวิทยาเชิงบวก จะช่วยให้เรามองมุมกลับปรับมุมมองจนสามารถค้นพบกับความสุขและความพึงพอใจได้อย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันของตนเอง โดยไม่ต้องวิ่งออกตามหาให้รู้สึกเหนื่อยหรือท้อใจ

ฮอร์โมนแห่งความสุขคืออะไร? มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับ PERMA Model รู้ว่าตัวอักษร PERMA แต่ละตัวมีความหมายว่าอะไรกันไปแล้ว ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับฮอร์โมนแห่งความสุขที่สมองจะหลั่งเมื่อเรามีความสุขหรือได้ทำกิจกรรมที่ชอบและเกิดความรู้สึกประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าค่ายปิดเทอมดี ๆ หรือเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับเด็กแสนสนุก มาดูกันดีกว่าว่าฮอร์โมนแห่งความสุขนี้มีอะไรบ้าง? แล้วฮอร์โมนแห่งความสุขแต่ละตัวคืออะไรบ้าง? 

โดปามีน หรือ Dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจ มีความสุข ได้รับสิ่งที่ต้องการ หรือได้อยู่ในเหตุการณ์สัมผัสกับประสบการณ์ที่น่าประทับใจ เช่น การที่เด็ก ๆ ได้รับของขวัญจากพ่อแม่ ได้ไปเที่ยว ได้เล่นสนุก เป็นต้น 

ซึ่งสารโดปามีนนี้จะคอยผลักดันให้เด็ก ๆ กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ เด็กที่มีสารโดปามีนต่ำโดยมากมักจะไม่มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ หรือหมดแพชชั่นได้ง่าย ในขณะที่เด็กที่มีสารโดปามีนสูงมักจะมีความกระตือรือร้น พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้งานสำเร็จ

ออกซิโทซิน หรือ Oxytocin เป็นสารสื่อประสาทที่สมองจะหลั่งออกมาเมื่อเด็กได้สัมผัสกับร่างกายของผู้อื่น หรือรับรู้ได้ถึงความรัก ความห่วงใย ความไว้วางใจ ที่พ่อแม่และคนรอบตัวมีให้ ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย โดยสารนี้นั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วในชื่อของ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” หรือ “ยากอด” นั่นเอง

ซึ่งฮอร์โมนออกซิโทซินนี้มีความสำคัญในการเสริมสร้างความผูกพันทางสังคมของเด็ก ๆ เป็นอย่างยิ่ง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านอารมณ์ เพิ่มความรู้สึกโอบอ้อมอารี ความเสียสละ อีกทั้งยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ต้านความเครียด บรรเทาอาการวิตกกังวล ทั้งยังช่วยรักษาแผลตามร่างกายให้หายเร็วขึ้นอีกด้วย

เซโรโทนิน หรือ Serotonin เป็นสารสื่อประสาทที่โดยมากจะเกิดจากจุลินทรีย์ในลำไส้ลำเลียงไปยังสมอง โดยสารนี้นั้นเป็นที่รู้จักในชื่อของ “ฮอร์โมนแห่งความเป็นผู้นำ” จะช่วยสร้างอารมณ์เชิงบวกที่เกิดจากความภาคภูมิใจ การประสบความสำเร็จ การได้รับการยอมรับในสังคมให้กับเด็ก ๆ เช่น การสอบได้คะแนนสูง ได้รับรางวัล ชนะการแข่งขัน เป็นต้น

ซึ่งฮอร์โมนเซโรโทนินนี้มีหน้าที่ในการดูแลวงจรชีวิต ดูแลรักษานาฬิกาชีวภาพของร่างกายเด็ก ๆ ช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว ความอิ่ม ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร ความทรงจำ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะต่าง ๆ

ประยุกต์ใช้ Perma Model

จะนำหลักการของ PERMA Model มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะสามารถนำหลักการของ PERMA Model มาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ได้อย่างไรบ้าง? เพื่อให้รู้สึกมีความสุขและสารสื่อประสาทหรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถหลั่งออกมาและดูแลเสริมสร้างทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ ได้ ซึ่งเราสามารถนำหลัก PERMA Model มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ได้ง่าย ๆ ดังนี้

    • P – Positive Emotion : ให้เด็ก ๆ ได้ทำสิ่งที่ชื่นชอบ ทำแล้วมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดความเครียดความกดดัน โดยอาจเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การได้ดูการ์ตูน ได้รับประทานอาหารหรือขนมอร่อย ๆ ที่ตนเองชอบ ได้รับสิ่งที่ต้องการ เป็นต้น รวมถึงการปลูกฝังให้รู้จักการมองโลกในแง่ดี นำความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาตนเอง และสามารถรับมือกับความผิดหวังด้วยอารมณ์เชิงบวกได้
    • E – Engagement : ให้เด็ก ๆ ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตนเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานอดิเรกอย่างการอ่านหนังสือ การเล่นเกม การเล่นกีฬา การทำงานศิลปะ หรือการซ้อมเต้น
    • R – Relationship : ส่งเสริมให้เด็กได้สานสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น เปิดใจทำความรู้จักกับคนที่เข้ามาในชีวิต และเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์และไว้วางใจในตัวผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในครอบครัว เพื่อน ครูอาจารย์ รวมถึงมีความไว้วางใจในตนเองด้วย
    • M – Meaning : ทำให้เด็ก ๆ สามารถรับรู้ความหมายและคุณค่าของกิจกรรมหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองทำ รู้ว่าสิ่งต่างที่ทำลงไปนั้นทำไปเพื่ออะไร มีความหมายต่อตนเองหรือต่อผู้อื่นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายและมีคุณค่าต่อไป เช่น ให้เด็ก ๆ ได้รู้ว่าการช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านจะช่วยให้พ่อแม่เหนื่อยน้อยลง เป็นการกระทำที่มีความหมายต่อพ่อแม่ และเด็ก ๆ เองก็รู้สึกสุขใจด้วยเช่นกัน
    • A – Accomplishment : ตั้งเป้าหมายในการใช้ชีวิตในแต่ละวันให้เด็ก ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ อาจเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ก็ได้ เช่น ตื่นมาจะพับผ้าห่มให้เรียบร้อย จะทำการบ้านให้เสร็จ จะกินข้าวให้หมดจาน จะกินผัก เป็นต้น และเมื่อเด็ก ๆ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ก็จะเกิดความสุขตามมา

PERMA Model เป็นเสมือนกับ DNA ของการออกแบบค่ายของ SMART-i Camp

แต่ละค่ายของทาง SMART-i Camp ได้รับการออกแบบและพัฒนามาจากงานวิจัยระดับโลก โดยได้นำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างหลักการของ PERMA Model ในจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของค่าย เป็นเสมือนกับ DNA ของการออกแบบค่ายต่าง ๆ ของทาง SMART-i Camp

โดยทุกค่ายของ SMART-i Camp นั้นยึดหลักของ PERMA Model มุ่งเน้นที่ความสุขและความสำเร็จของเด็ก ๆ เป็นสำคัญ เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จที่ปราศจากความสุขนั้นไม่ใช่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ความสุขที่เกิดจากการได้ลงมือทำและได้เห็นผลลัพธ์ของการลงมือทำเองก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับผู้ปกครองที่สนใจแต่ยังลังเลว่าจะให้ลูก ๆ เข้าร่วมกันค่ายไหนดี ในวันนี้เราได้นำ 2 ค่ายปิดเทอมสำหรับเด็ก ๆ ที่ได้รับความนิยมสูงมาให้ผู้ปกครองได้พิจารณาเพื่อส่งลูกน้อยเข้าร่วมทำกิจกรรมอย่างมีความสุข

Growth Mindset Camp

Growth Mindset Camp เป็นค่ายที่จะเน้นให้เด็ก ๆ มีความสุขจากการรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ปรับมุมมองให้ไม่กลัวความผิดพลาดและความล้มเหลว กล้าที่จะลองทำสิ่งต่าง ๆ สนุกกับการลองทำสิ่งใหม่ ๆ และนำความผิดพลาดล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาเป็นประสบการณ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเองต่อไป

7 Habit Camp

7 Habit Camp เป็นค่ายที่จะมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ มีความสุขจากการพัฒนาตนเอง โดยค่ายนี้จะเน้นที่การสร้างภาวะผู้นำ รู้จักตั้งเป้าหมาย ลำดับความสำคัญก่อน-หลัง ทำงานเป็นทีม เข้าใจผู้อื่น เปิดใจยอมรับและเข้าใจความแตกต่าง 

อย่างที่ได้บอกไปว่าแต่ละค่ายของ SMART-i Camp ที่จัดขึ้นมุ่งเน้นไปที่ความสุขของเด็ก ๆ เป็นสำคัญตามหลักการของ PERMA คือ เน้นทั้งการสร้างความรู้สึกเชิงบวกโดยการได้ทำสิ่งที่ชอบ สนุกสนาน ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สานสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในค่ายเกิดเป็นมิตรภาพดี ๆ ได้ทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมาย และมีความภาคภูมิใจในตนเองกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม

PERMA Model หรือ PERMA นี้เป็นหลักการหนึ่งในแนวคิดของจิตวิทยาเชิงบวกที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและการออกแบบค่ายปิดเทอม กิจกรรมสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุขทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าร่วมค่าย หากว่าผู้ปกครองสนใจให้เด็ก ๆ เข้าร่วมค่ายปิดเทอมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างมีความสุข ทาง SMART-i Camp ขอแนะนำว่าค่ายที่ใช้หลักการ PERMA Model คือคำตอบ โดยเฉพาะค่ายต่าง ๆ ของ SMART-i Camp ที่ยึดหลักการ PERMA Model เป็นพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นที่ความสุขของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจึงสามารถมั่นใจได้เลยว่าลูก ๆ ของคุณจะได้รับการพัฒนาตนเองอย่างมีความสุขอย่างแน่นอน

สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับค่ายจิตวิทยาเชิงบวกของ SMART-i Camp
สามารถ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย